Clownfish - Finding Nemo Swimming

ยานอวกาศที่สำคัญ

ยานอวกาศที่สำคัญ



spaceflight01

1. ยานอพอลโล่ (Apollo 11)

ยานอวกาศที่สร้างความตกตะลึงและกลายเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก หลังจากสามารถจอดลงบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1969 ภายใต้การนำของนีล อาร์มสตรอง และลูกเรืออีก 2 คน ประกอบไปด้วย เอ็ดวิน บัซ อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ หลังจากที่ผ่านการทดสอบโคจรรอบโลกมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ยานอพอลโล่ 1 ในปี ค.ศ. 1967 จนกระทั่งถึงอพอลโล่ 17 ในปี ค.ศ. 1972 และนั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ยานอวกาศได้จอดลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ ส่วนต่อจากนั้นต้องยกเลิกภารกิจไปด้วยสาเหตุหลายประการ จนกระทั่งโครงการถูกปิดตัวไปในที่สุด



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยานอวกาศยานวอยเอเจอร์

2. ยานวอยเอเจอร์ (Voyager)

ภายใต้โครงการนี้ประกอบด้วย ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 กับยานอวกาศวอยเอเจอร์ 2 ยานอวกาศแฝดคู่นี้ถูกส่งขึ้นไปทำภารกิจพร้อมกันในปี ค.ศ. 1977 โดยลำแรกใช้ในการสำรวจเรื่องของชั้นบรรยากาศ สนามแม่เหล็ก ดวงจันทร์ และวงแหวนของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ ส่วนลำที่สองเพิ่มระยะการเดินทาง เพื่อเก็บข้อมูลของดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูนโดยเฉพาะ ซึ่งนับได้ว่าเป็นยานอวกาศคู่แฝดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดภายใต้ภารกิจการสำรวจดาวเคราะห์ขององค์การนาซาในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1979-1989 เลยก็ว่าได้



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


3. ยานไวกิ้ง (Viking)

อีกหนึ่งความสำเร็จขององค์การนาซาในการสำรวจดาวเคราะห์ที่ต่อเนื่องมาจากโครงการอพอลโล่ ซึ่งครั้งนี้เน้นการสำรวจดาวอังคารโดยเฉพาะ โดยการส่งยานไวกิ้ง 1 ขึ้นไปสำรวจดาวอังคาร เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1975 และยานไวกิ้ง 2 ในปีถัดมา โดยทั้งสองลำทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับดาวอังคารมามากมายผ่านภาพสีที่ถูกถ่ายจากระยะไกล และพื้นผิวในระยะใกล้รวมกว่า 50,000 ภาพที่จัดได้ว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยีในยุคนั้นเลยทีเดียว อีกทั้งตัวยานที่ออกแบบมาให้มีอายุการใช้งานเพียง 90 วัน แต่เมื่อถึงเวลาจริง ๆ กลับสามารถปฏิบัติภารกิจได้ยาวนานถึง 6 ปีกว่า พร้อมทั้งยังเป็นต้นแบบของการนำยานลงจอดโดยใช้ร่มชูชีพและเกราะป้องกันความร้อนอีกด้วย


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

4. ยานมาร์ส เอ็กซ์พลอเรชั่น โรเวอร์ (Mars Exploration Rover)

ภารกิจในครั้งนี้เริ่มจากการส่งยาน MER-A และ MER-B หรือที่เรียกกันว่า ยานสปิริต และ ยานออปพอร์ทูนิตี้ ไปยังดาวอังคารเมื่อปี ค.ศ. 2004 ซึ่งอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งหมดนั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวยาน แต่กลับติดตั้งเอาไว้ในหุ่นยนต์ “โรเวอร์” และถูกส่งออกไปทำการสำรวจแทน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนเพื่อค้นหาร่องรอยของน้ำบนดาวอังคาร แต่หลังจากภารกิจนี้ดำเนินอยู่หลายปี ในปี ค.ศ. 2009 ล้อของหุ่นยนต์โรเวอร์ กลับติดอยู่ในพื้นทรายบนดาวอังคาร จนต้องเปลี่ยนให้เป็นสถานีวิจัยคงที่แทน ก่อนที่จะสูญเสียการติดต่อเมื่อปี ค.ศ. 2010 เนื่องจากอาจเกิดความเสียหาย หรือเรียกว่าโหมดหลับลึก



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยานมาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์

5.  ยานมาร์ส โกลบอล เซอร์เวเยอร์ (Mars Global Surveyor) 

เป็นโครงการสำรวจดาวอังคาร ที่ส่งยานออกไปในเดือนพฤศจิกายน ของปี ค.ศ. 1996 เพื่อโคจรรอบดาวอังคาร พร้อมทั้งทำการสำรวจและถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารอย่างละเอียด เพื่อนำไปทำแผนที่ดาวอังคาร ตรวจชั้นบรรยากาศ และวัดค่าสนามแม่เหล็ก โดยได้เปิดเผยภาพถ่ายอย่างละเอียดของใบหน้าปริศนาบนดาวอังคาร ว่าแท้จริงแล้วไม่ได้มีความลึกลับแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่เพียงเนินเขาที่ถูกน้ำและลมกัดเซาะเพียงเท่านั้น โดยยานลำนี้สามารถส่งภาพจากพื้นผิวของดาวอังคารกลับมาได้มากถึง 240,000 ภาพ ดังนั้นจากเดิมที่เคยวางแผนโครงการเอาไว้แค่เพียง 2 ปี ก็ได้ถูกขยายภารกิจออกไปเป็น 4 ปี ควบคู่กับยานมาร์ส พาธ ไฟน์เดอร์



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยานแคสสินี

 6. ยานแคสสินี (Cassini-Huygens)

ยานอวกาศแคสสินี-ฮอยเกนส์ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1997 ยานลำนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากองค์การนาซาเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขายังได้ทำการร่วมมือกับองค์การอวกาศยุโรปและอิตาลีด้วย เพื่อออกสำรวจดาวเสาร์กับบริวารทั้ง 7 โดยเน้นไปที่การสำรวจบนไททัน ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงโคจร ซึ่งถือได้ว่าเป็นยานลำแรกที่ได้เข้าใกล้กับดาวเสาร์มากที่สุดนับตั้งแต่มีมาเลยก็ว่าได้ อีกทั้งโครงการนี้ยังอยู่ภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องไปจนถึงปี 2017 เลยด้วย

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

7. ยานเมอร์คิวรี (Mercury Atlas )

สิ่งที่ทำให้ยานอวกาศในโครงการเมอร์คิวรีนี้ เป็นที่จดจำนั้นไม่ใช่แค่การปรับขนาดห้องควบคุมในยานให้บรรจุได้แค่ที่นั่งเดียว แต่จุดประสงค์หลักนั้นแตกต่างออกไปด้วย เนื่องจากเป็นโครงการที่สร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบความสามารถในการดำเนินชีวิตกับการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของคนและสัตว์ในสภาพไร้น้ำหนัก ก่อนที่จะส่งมนุษย์และยานอวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลกจริง ๆ พร้อมกับยานเมอร์คิวรี-แอตลาส 6 (MA-6) ซึ่งผู้ที่ประสบความสำเร็จเป็นคนแรกคือ นักบินอวกาศสัญชาติอเมริกัน จอห์น แอช เกลนน์ จูเนีย ที่ออกเดินทางในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1962 โดยสามารถโคจรรอบโลกรวมทั้งหมด 3 รอบใช้เวลา 4 ชั่วโมง 55 นาที


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยานไพโอเนียร์

8. ยานไพโอเนียร์ (Pioneer)

โครงการยานอวกาศที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 จนกระทั่งสร้างปรากฏการณ์ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการดาราศาสตร์ ด้วย ยานไพโอเนียร์ 10 และ 11 ที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1972 และ ค.ศ. 1973 ตามลำดับ ซึ่งยานไพโอเนียร์ 10 นั้นสามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ของดาวพฤหัสบดีกลับมาได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ยานไพโอเนียร์ 11 มีการส่งไปเก็บภาพของดาวเสาร์ ซึ่งทำให้ค้นพบดวงจันทร์ขนาดเล็กอีก 2 ดวงและวงแหวนวงใหม่ของดาวเสาร์ด้วยในเวลาเดียวกัน


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

9. ดาวเทียมสปุตนิก (Sputnik)

ดาวเทียมดวงแรกของโลกภายใต้การดำเนินงานของรัสเซียที่ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศครั้งแรกในปี ค.ศ. 1957 โดยเริ่มจากดาวเทียมสปุตนิก 1 ที่สามารถโคจรรอบโลกได้นานถึง 92 วัน แต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 96 วินาที ด้วยรูปร่างทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร น้ำหนัก 84 กิโลกรัม เพื่อทำการทดสอบการรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านชั้นบรรยากาศ และภายในปีเดียวกันรัสเซียก็ได้ส่ง ดาวเทียมสปุตนิก 2 ขึ้นไปพร้อมกับสุนัขอวกาศ ไลก้า ซึ่งสามารถโคจรอยู่เหนือพื้นผิวโลกได้สูงถึง 1,671 กิโลเมตร และไกลกว่าดาวเทียมสปุตนิก 1 เกือบสองเท่าตัว เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้รัสเซียก้าวไกลกว่าผู้นำอย่างอเมริกาไปหลายขุม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฮับเบิล

10. ฮับเบิล (กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล)

ถึงแม้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจะไม่ใช่กล้องโทรทรรศน์ตัวแรกของโลก และโครงการนั้นก็มีอุปสรรคในระหว่างดำเนินการมากมาย แต่ในที่สุดองค์การนาซากับองค์การอวกาศยุโรปก็สามารถส่งฮับเบิลขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้เป็นผลสำเร็จในเดือนเมษายนของปี ค.ศ. 1990 และเนื่องด้วยความสามารถอันหลากหลายของกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้ ก็ทำให้การศึกษาข้อมูลในแวดวงของดาราศาตร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะพวกเขาค้นพบปรากฏการณ์สำคัญใหม่ ๆ มากมายจากภาพถ่ายความละเอียดสูง อาทิ การขยายตัวของเอกภพด้วยความเร่ง วัตถุที่อยู่นอกระบบสุริยะ กลุ่มก๊าซที่จะก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ดวงใหม่ใน เนบิวลานายพราน รวมไปถึงดาราจักรที่อยู่ไกลออกไปหลายพันล้านปีแสง เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นกล้องตัวแรกที่สามารถส่งคนขึ้นไปซ่อมบำรุงบนตัวยานได้อีกด้วย ทั้งนี้คาดว่าจะมีการปลดระวางฮับเบิลในปี 2014 และส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ขึ้นไปแทนที่

No comments:

Post a Comment